ประเพณีเมืองอีสาน (เข้าชม 1182 ครั้ง)
บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในเดือน ๖ การจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีทำบุญขอฝนจากพญาแถนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลบ้าง คนหรือวัวควายอาจเกิดป่วยเป็นโรคต่างๆ บ้างเป็นต้น และเมื่อทำบุญดังกล่าวแล้ว ก็เชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ประชาชนในหมู่บ้านนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีอาหารข้าวปลาที่บริบูรณ์ทั้งปราศจากโรคภัยด้วย “ ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนหกแล้วให้นำเอาน้ำวารีสรงโสก ฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สู่ภาย อย่าได้ละเบี่ยงบ้ายปัดป่ายหายหยุด มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า จงพากันทำแท้แนวคองฮีตเก่า เอาบุญไปเรื่อยๆ อย่าถอยหน้าหากสิเสีย” เดือนหกทำบุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา การทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน และจะมีงาน บวชนาคพร้อมกันด้วย การทำบุญเดือนหกเป็นงานสำคัญก่อนการทำนา หมู่บ้านใกล้เคียงจะนำ เอาบั้งไฟมาจุดประชันขันแข่งกัน หมู่บ้านที่รับเป็นเจ้าภาพจะจัดอาหาร เหล้ายามาเลี้ยงโดยไม่คิด มูลค่า เมื่อถึงเวลาก็จะตั้งขบวนแห่บั้งไฟและรำเซิ้งออกไป ณ ลานที่จุดบั้งไฟ การเซิ้งจะกระทำด้วย ความสนุกสนาน ไม่มีการทะเลาะวิวาท คำเซิ้งและการแสดงประกอบจะออกไปในเรื่องเพศ แต่ก็ไม่ ถือสาหรือคิดเป็นเรื่องหยาบคายแต่อย่างใด (ไปชมประเพณียิ่งใหญ่นี้ได้ที่จังหวัดยโสธร ช่วงต้น เดือนพฤษภาคมของทุกปี) ส่วนการทำบุญวิสาขบูชานั้น ก็มีการทำบุญเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ช่วงเย็น มีการเวียนเทียนเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ โดยการเอาขี้เจีย(ดินประสิว) มาประสมคั่วกับถ่าน โขลกให้แหลกเรียกว่าหมื่อ (ดินปืน) เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ การทำบุญมีให้ทาน เป็นต้น เกี่ยวกับการทำบ้องไฟ เรียกว่า บุญบั้งไฟ กำหนดทำกันในเดือนหก พญาคันคากจึงท้าสู้รบกับพญาแถน หากพญาแถนแพ้ต้องส่งฝนลงมาให้โลกมนุษย์เป็นประจำทุกปี ผลการสู่รบปรากฏว่าพญาแถนแพ้พญาคันคาก เพราะพญาคันคากใช้แผนส่งปลวกขึ้นไปกัดด้ามอาวุธ ส่งมด ตะขาบ ไปซ่อนอยู่ในรองเท้าและเสื้อผ้าที่จะออกรบของพญาแถนและทหาร พญาแถนก็ยอมทำตามสัญญาแต่โดยดีแต่มีข้อแม้ว่าชาวโลกจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปเตือนว่าต้องการฝนเมื่อใด ด้วยเหตุนี้ชาวโลกที่ต้องการน้ำดื่มน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรจึงได้ทำบั้งไฟจุดขึ้นไปขอฝนกับพญาแถนในช่วงก่อนฤดูทำนา คือประมาณเดือนหก ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ด้วยความเชื่อตามเรื่องเล่านี้จึงทำให้ชาวอีสานทำบั้งไฟทุกปีเพื่อเตือนพญาแถน ก่อนจะถึงวันงานหรือวันเอาบุญ ชาวบ้านก็จะช่วยกันเตรียมงานกันอย่างสามัคคี ฝ่ายแม่ครัวก็เตรียมข้าวปลาอาหารไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ฝ่ายช่างฟ้อนก็เตรียมขบวนรำไว้สำหรับแห่บั้งไฟ ฝ่ายผู้ชายที่เป็นช่างฝีมือก็ช่วยกันทำบั้งไฟและตกแต่งให้สวยงาม งานบุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนาเท่าใดนักแต่บางแห่งก็มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระบ้าง ในวันโฮม ชาวบ้านก็จะมาตั้งขบวนเพื่อแห่บั้งไฟไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นงานบุญที่เน้นความสนุกสนานรื่นเริง ในขบวนจะมีการรำเซิ้งตามบั้งไฟ และบรรดาขี้เหล้าทั้งหลายก็จะร้องเพลงเซิ้งไปของเหล้าตามบ้านต่าง ๆ กาพย์เซิ้งอาจจะหยาบคายแต่ก็ไม่มีใครถือสากัน แต่กาพย์เซิ้งที่ใช้แห่ในขบวนมักจะเป็นประวัติและความเป็นมาของพิธีบุญบั้งไฟ ส่วนในวันจุดบั้งไฟก็อาจจะเป็นอีกวันหนึ่งคือเป็นวันที่ชาวบ้านจะเอาบั้งไฟของแต่ละคุ้มแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน ถ้าของใครทำมาดีจุดขึ้นได้สู่งสุดก็จะชนะแต่ถ้าของใครแตกหรือซุก็ถือว่าแพ้ ต้องโดนลงโทษโดยการจับโยนลงโคลนหรือตมซึ่งเป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง
บุญพระเวส หรือ บุญเผวส เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ หนังสือมหาชาติหรือพระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรขอ' พระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวย พระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูกการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่งในระหว่างออกพรรษา จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ ดังคำพังเพยว่า “ เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ เดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มะที ” คำว่า “เจ้าหัว” หมายถึง พระภิกษุ “จัว” หมายถึง สามเณร “มะที” หมายถึงมัทรี บางแห่งทำในเดือนหก หรือเดือนเจ็ดก็มี และถ้าทำในเดือนหกหรือเจ็ด มักจะทำบุญบั้งไฟด้วยกัน ก่อนการจัดงานทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยเสียก่อน ทางชาวบ้านจะจัดอาหารการกิน และจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์ เพื่อถวายพระภิกษุ สามเณร ส่วนทางวัดก็จะแบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หนังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์ก็ได้ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดยทั่วถึงกัน แล้วมอบหนังสือให้พระภิกษุ สามเณร ในวัดนั้นเพื่อเตรียมไว้เทศน์ นอกนั้นจะเป็นการนิมนต์พระภิกษุจากวัดอื่นมาเทศน์ โดยจะมีฎีกาใบนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์ และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้งอยู่มาร่วมทำบุญด้วย ซึ่งตามปกติเมื่อพระภิกษุ สามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น ๆ ตามมาฟังเทศน์ และร่วมงานด้วย หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ กัณฑ์ใดกัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกัน และบอกจำนวนคาถาของแต่ละกัณฑ์ให้ทราบด้วย เพื่อเตรียมเทียนมาตามจำนวนคาถาของกัณฑ์ที่ตนรับ 'ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผามาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้อย่าได้ไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ ให้ฝูงซาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน มันสิหมองเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จนแท้แหล่ว' ในการทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัย แสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะพบพระศรีอริยะเมตไตย หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว จง อย่าฆ่าบิดามารดา สมณะ พราหมณาจารย์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุตส่าห์ฟัง เทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดีนว เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำ ของมาถวายพระ ซึ่งเรียกว่า 'กัณฑ์หลอน' หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์ มา ก็เรียกว่า 'กัณฑ์จอบ' เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจง หรือไม่? บุญเดือนสี่ บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ 'ฮีตหนึ่งนั้นพอเถิงเดือนสี่ให้เก็บดอกบุปผา หามาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้ อย่าไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า หาเอาตากแดดไว้ใทแท้สู่คนแท้ดาย อย่าไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ ให้ฝูงชาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน มันสิหมองหม่นเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จน แท้แหล่ว' บุญเดือนสี่หนือบุญมหาชาติหรือบุญเผวส ก็คือบุญอันยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหาเวสสันดรชาดกนั่นเอง กำหนดการทำบุญเผวสจะเป็นในช่วงเดือนสี่ข้างแรมถึงเดือนห้า จะถือเอาวันใดเป็นวันบุญก็ได้ตามแต่จะตกลงกันในหมู่บ้าน เมื่อตกลงวันกันได้แล้ว ก่อนถึงวันงานก็จะมีการเตรียมงานบุญโดยมีการเตรียมดอกไม้ อาหารคาวหวาน ขนม ข้าวต้ม ไว้สำหรับถวายพระและเลี้ยงแขกในงาน และเตรียมหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียน ธูป มีดดาบอย่างละพัน และข้าวดอกดอกกไม้ไว้สำหรับบูชาคาถาพัน ส่วนผู้ที่มีฝีมือในการวาดภาพก็จะช่วยกันวากภาพบนผืนผ้าสีขาวไว้สำหรับแห่ ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หนังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลาย ๆ กัณฑ์ก็ได้ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์ทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสามเณรในวัดเพื่อเตรียมไว้เทศน์ หรืออาจนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ด้วย ว่ากันว่า สาเหตุที่มีการทำบุญเผวสมาจากโบราณกาลเล่าไว้ในหนังสือมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า เมื่อครั้งที่พระมาลัยเถรเจ้าได้เดินทางไปไหว้สักการะพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้พบกับพระศรีอาริยเมตไตรยพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระมาลัยว่า หากมนุษย์ผู้ใดต้องการพบกับพระองค์และเกิดในศาสนาของพระศรีอารย์ก็ขออย่าได้กระทำบาปหนัก คือ ไม่ฆ่าบิดามารดา ไม่ฆ่าครูบาอาจารย์ ไม่ฆ่าพระสงฆ์สามเณร จงเคารพพวกท่านเหล่านั้น และต้องฟังเทศน์มหาชาติคาถาพันให้จบภายในวันเดียว ด้วยหวังในอานิสงฆ์นั้น พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวอีสานจึงมีความศรัทธาที่จะทำบุญมหาชาติหรือบุญเผวสกันในเดือนนี้ ในวันโฮมหรือวันรวมชาวบ้านจะออกมารวมตัวกันเพื่อทำพิธีนิมนต์พระอุปคุตในตอนเช้ามืด พอตอนประมาณบ่ายสามหรือสี่โมงในวันโฮมหรือวันรวมชาวบ้านก็มารวมกันอีกครั้งที่วัดเตรียมตัวจัดขบวนแห่ไปอัญเชิญพระมหาเวสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติป่าแห่งใดแห่งหนึ่งในหมู่บ้านเป็นที่ที่สองอยู่ ในพิธีอัญเชิญก็จะมีพระพุทธรูป 1 องค์ พระภิกษุ 4 รูป ขบวนประชาชนและทิวผ้าที่เขียนเรื่องราวของพระเวสสันดร เวียนขวารอบวัดหรือศาลาโรงธรรม 3 รอบ ในตอนเย็นก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ในขณะที่พระกำลังเทศน์อยู่นั้นหากผู้ใดพอใจก็จะมีการถวายเงินด้วยความเลื่อมใสศรัทธา การบริจาคของชาวอีสานมีสองรูปแบบคือกัณฑ์หลอนและกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอนคือ หากแห่ขบวนเครื่องไทยทานและเงินบริจาคที่รวบรวมไว้ไปถึงวัดขณะที่พระรูปใดกำลังเทศน์อยู่ก็จะมอบให้รูปนั้น ส่วนกัณฑ์จอบก็คือ หากชาวบ้านต้องการเจาะจงว่าจะมอบให้พระรูปใดก็ส่งสายลับไปแอบไปดูก่อนว่าพระรูปนั้นเทศน์ตอนไหน ก็จะกะระยะเวลเคลื่อนขบวนให้พอดี ประวัติความเป็นมาประเพณีบุญข้าวจี่ บุญข้าวจี่นิยมทากันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม คือ ภายหลังการทาบุญวันมาฆบูชา ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนามาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่วและนวดให้เหนียวแล้วเสียบไม้ย่างไฟ มูลเหตุที่ทาบุญข้าวจี่ในเดือนสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาได้มีการทานาเสร็จสิ้น ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งใหม่จึงอยากร่วมกันทาบุญข้าวจี่ถวายแก่พระสงฆ์ สาหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทาบุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า ในสมัยพุทธกาล นางปุณณะทาสี ได้ทาขนมแป้งจี่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบภาวะจิตของนางปุณณะทาสี จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะแล้วทรงประทับนั่งฉันท์ ณ ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งและเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผลด้วยอานิงสงฆ์ที่ถวายขนมแป้งจี่ ชาวอีสานจึงเชื่อในอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทาข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา ตาบลนาอ้อเริ่มฟื้นฟูประเพณีบุญข้าวจี่อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่บ้านนาอ้อ ได้รับยกย่องจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบของจังหวัดเลยและมีการจัดงานประเพณีแบบเป็นระเบียบแบบแผนและจัดงานอย่างต่อเนื่องมาทุกปี (สาร สารทัศนานันท์ 2527 : 43 – 44) การปฏิบัติในงานประเพณีบุญข้าวจี่ เมื่อทางวัดและทางบ้านกาหนดวันทาบุญเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะไปเตรียมหาไม้ไผ่สาหรับเสียบข้าวจี่ เมื่อถึงวันทาบุญก็จะเอาไม้เสียบและฟืนที่เตรียมไว้สาหรับทาบุญข้าวจี่ไปรวมกันที่วัด เมื่อก่อไฟจนเป็นถ่านดีแล้วชาวบ้านแต่ละคนเอาข้าวเหนียวทาเป็นปั้นโรยเกลือและเคล้านวดให้เข้ากันจนข้าวมีลักษณะเหนียว กะจานวนให้ครบพระภิกษุสามเณรในวัดเสียบไม้ปิ้งไฟหรือย่างบนกองไฟจวนสุกทาไข่ให้ทั่วแล้วปิ้งต่อไปจนไข่เหลือง บางแห่งเมื่อปิ้งเสร็จเอาน้าอ้อยปึกยัดไส้ด้วย (น้าอ้อยอาจเอาใส่ยัดไส้ก่อนปิ้งไฟก็ได้) หรือจะไม่ใส่น้าอ้อยก็ได้ จึงจัดอาหารคาวหวานและข้าวจี่มารวมกันที่ศาลาวัด นิมนต์พระภิกษุและสามเณรในวัดทั้งหมดมารับถวายทาน ข้าวจี่หากไม่มารวมกันทาที่วัด ชาวบ้านอาจต่างคนต่างทามาจากที่บ้านของตน โดยเสร็จแล้วต่างนาข้าวจี่มาที่วัดก็ได้ พิธีถวายมีการกล่าวคาบูชาดอกไม้ กราบไหว้พระรัตนตรัย รับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรถวายข้าวจี่แล้วยกไปถวายพระภิกษุสามเณรพร้อมอาหารคาวหวาน ก่อนยกไปถวายมีการกล่าวคาถวายข้าวจี่อีกด้วย ตำนาน บุญกะฐิน ครั้งพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกกฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้นพอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ 6 โยชน์ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึง กรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์ พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น เรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวาย และการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ พระพุทธเจ้าทรงทราบ และเห็นความลำบากของภิกษ ุจึงทรงยกเป็นเหตุ และมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้ว กรานกฐินได้ และเมื่อกรานกฐินแล้ว จะได้รับอานิสงส์ตามที่กำหนดในพระวินัยถึง 5 ประการคือ อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ จะไปค้างคืนที่ไหน ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ จะไปไหนมาไหน ไม่ต้องบอกลาก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ ฉันคณะโภชน์ได้ ไม่ต้องอาบัติ เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาล ให้ยาวออกไปอีกจนถึงกลางเดือน 4 ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฐิน จำนวนพระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐิน สงฆ์ผู้จะให้ผ้ากฐินนั้น จะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูป เพราะจะต้องจัดเป็นผู้รับผ้ากฐิน 1 รูป เหลืออีก 4 รูปจะได้เข้าเป็นองค์คณะ (สงฆ์) มากกว่า 5 รูปขึ้นไปใช้ได้ แต่น้อยกว่า 4 รูปใช้ไม่ได้ คุณสมบัติของพระสงฆ์ที่มีสิทธิรับกฐิน คือพระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ 3 เดือน ปัญหาที่เกิดขึ้นมีอยู่ว่าจะนำพระสงฆ์จากวัดอื่นมาสมทบ จะใช้ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่พระรูปที่มาสมทบจะไม่มีสิทธิในการรับผ้าและไม่มีสิทธิออกเสียงว่าจะถวายผ้าให้กับรูปใด (เป็นเพียงแต่มาร่วมให้ครบองค์สงฆ์เท่านั้น) แต่คณะทายกทายิกาอาจถวายของสิ่งอื่นได้ กำหนดกาลที่จะทอดกฐิน การทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลากำหนด คือ ตั้งแต่วันแรม 1 คำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ก่อนหรือหลังจากนั้นไม่นับเป็นกฐิน กฐินไม่เป็นอันทอดหรือเป็นโมฆะ การที่พระในวัดเที่ยวขอโดยตรงหรือโดยอ้อม ด้วยวาจาบ้าง ด้วยหนังสือบ้าง เชิญชวนให้ไปทอดกฐินในวัดของตน การทำเช่นนั้นผิดพระวินัย กฐินไม่เป็นอันกราน นับเป็นโมะ การทอดก็ไม่เป็นทอด พระผู้รับก็ไม่ได้อานิสงส์ |
|